ขอเชิญสาธุชน ผู้มีจิตศรัทธาร่วมเป็็นเจ้าภาพ ผ้าป่าสามัคคีเพื่อปรับปรุงสถานีวัดพุทธบูชา จำนวน 500 กอง ๆละ 1,000บาท ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ติดต่อได้ที่ 024264962

13.12.52

รวมวิทยุออนไลน์

Taokae


Thainn


Thaibug


LuktungNetwork


KonbandonRadio


ArgardRadio

30.11.52

สถาปนาพระพรหมมุนี เป็น "สมเด็จพระวันรัต"

ข้อมูล จากไทยรัฐ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนา "พระพรหมมุนี" ผช.เจ้าอาวาสวัดบวรฯ เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ ฝ่ายธรรมยุต ขึ้นเป็น "สมเด็จพระวันรัต"..

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี มหาเถรสมาคม (มส.) จะมีการประกาศรายนามพระเถรานุเถระที่ทำคุณประโยชน์แก่ชาติและพระพุทธศาสนา ให้ได้รับการเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ โดยในปี 2552 มีจำนวนทั้งสิ้น 84 รูป แบ่งเป็นคณะสงฆ์ธรรมยุต 19 รูปและมหานิกาย 65 รูป มีตั้งแต่สมเด็จพระราชาคณะลงไปถึงพระราชาคณะชั้นสามัญ และได้มีการประกาศรายนามไปแล้วนั้น

เมื่อวันที่ 24 พ.ย. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ ฝ่ายธรรมยุต เพิ่มอีก 1 รูป คือ พระพรหมมุนี (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต ป.ธ.9) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารและผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม กรรมการมหาเถรสมาคม แม่กองธรรมสนามหลวง และผู้รักษาการแทนเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต ขึ้นเป็น "สมเด็จพระวันรัต"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะเพิ่ม สืบเนื่องจากสำนักราชเลขาธิการ ได้มีหนังสือถึงคณะกรรมการบริหารคณะสงฆ์ธรรมยุต ว่า ตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ ฝ่ายธรรมยุต ซึ่งว่าง 2 ตำแหน่ง แต่คณะสงฆ์ธรรมยุตเสนอ พระสาสนโสภณ(อัมพร อมฺพโร ป.ธ.6) เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ขึ้นมาเพียงรูปเดียว และได้รับการสถาปนาเป็น "สมเด็จพระมหามุนีวงศ์" ไปแล้ว ดังนั้นตำแหน่งที่ว่าง 1 ตำแหน่ง สมควรมีการเสนอเพิ่มเพื่อให้เต็มจำนวนสมเด็จพระราชาคณะ สำหรับพระพรหมมุนี เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 ก.ย. 2479 ปัจจุบันอายุ 73 ปี อุปสมบท ณ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยมีสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สกลมหาสังฆปริณายก (ม.ร.ว.ชื่น สุจิตโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ มีตำแหน่งปกครองและผลงานมากมาย อาทิ เป็น เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร-สมุทรปราการ (ธรรมยุต) ผอ.มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นต้น และในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ วันที่ 15 พ.ย. 2551 พระพรหมมุนี ได้ปฏิบัติหน้าที่พระเถระชั้นผู้ใหญ่ นั่งพระเสลี่ยงกลีบบัว (พระยานมาศพระนำ) และราชรถน้อย (รถพระนำ) อ่านพระอภิธรรมนำขบวนพระอิสริยยศ ในการเคลื่อนพระศพ จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท สู่พระเมรุ ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

สมณศักดิ์คณะสงฆ์ธรรมยุต 2552

ข้อมูลจาก พระไทยเน็ต

มหาเถรสมาคม ได้ประกาศรายนามพระเถรานุเถระในส่วนคณะธรรมยุต ให้ได้รับการเสนอชื่อได้รับการสถาปนา เลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 5 ธันวาคม 2552 จำนวนทั้งสิ้น 19 รูป ดังนี้

พระสาสนโสภณ (อัมพร อัมพโร) ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏที่ "สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ พิพัฒนพงศ์วิสุต พุทธปาพจนานุศาสน์วาสนวรางกูร วิบูลศีลสมาจารวัตรสุนทร ตรีปิฎกธรรมวราลงกรณวิภูษิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี"

รองสมเด็จพระราชาคณะ 1 รูป คือ พระธรรมวิสุทธิกวี วัดโสมนัสวิหาร เป็น พระสาสนโสภณ

พระราชาคณะชั้นธรรม 1 รูป คือ พระเทพญาณวิศิษฏ์ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก เป็น พระธรรมบัณฑิต

พระราชาคณะชั้นเทพ 3 รูป ได้แก่

พระราชบัณฑิต วัดปทุมวนาราม เป็น พระเทพญาณวิศิษฏ์
พระราชโสภณ วัดเทพศิรินทราวาส เป็น พระเทพญาณกวี
พระราชปริยัติวิมล วัดอาวุธวิกสิตาราม เป็น พระเทพปัญญามุนี
พระราชาคณะชั้นราช 5 รูป ได้แก่

พระรัชมงคลสุนทร วัดราชาธิวาสวิหาร เป็น พระราชภัทราจาร
พระเนกขัมมมุนี วัดราษฎร์บำรุง เป็น พระราชโสภณ
พระสุทธิสารโสภณ วัดมิ่งเมือง จ.ร้อยเอ็ด เป็น พระราชปริยัติวิมล
พระวินัยเมธี วัดเฉลิมกาญจนาภิเษก จ.อ่างทอง เป็น พระราชบัณฑิต
พระวุฒิสารโสภณ วัดเวฬุวัน จ.ลพบุรี เป็น พระราชสังวรญาณ
พระราชาคณะชั้นสามัญ 8 รูป ได้แก่

พระมหาไฉน จิตตสุทโธ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็น พระศรีวิสุทธิกวี
พระครูปลัดสัมพิพัฒนวิริยาจารย์ วัดสัมพันธวงศาราม เป็น พระวินัยเมธี
พระมหาสุดใจ ปสิทธิโก วัดธาตุทอง เป็น พระศรีมุนีวงศ์
พระครูสุทธิสังวรคุณ วัดสุทธิธรรมรังสิยานุสรณ์ จ.มุกดาหาร เป็น พระสุทธิสารโสภณ
พระครูเชฏฐคุณาจาร วัดประชาบำรุง จ.มหาสารคาม เป็น พระวุฒิสารโสภณ
พระครูวิศาลสมาธิวัตร วัดราชายตนบรรพต จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็น พระเนกขัมมมุนี
พระครูปลัดสุวัฒนเมธาคุณ วัดพระมหาธาตุ จ.นครศรีธรรมราช เป็น พระศรีธรรมประสาธน์
พระครูปลัดสุวัฒนเมตตาคุณ วัดศรัทธาประชากร จ.สระบุรี เป็น พระสุนทรธรรมภาณ

23.11.52

ธรรมเทศนาสักการาลัย

เรื่องกรรม โดยสมเด็จพระญาณวโรดม

19.11.52

สมเด็จพระญาณวโรดม ละสังขาร



สมเด็จพระญาณวโรดม วัดเทพศิรินทร์ ละสังขาร

เช้าวันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2552 "สมเด็จพระญาณวโรดม" เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ได้ละสังขารอย่างสงบ ด้วยวัยวุฒิ 93 ปี พรรษา 72 หลังจากเข้ารักษาอาการอาพาธ ด้วยอาการไอมีเสมหะ ก่อนหมดสติลง หัวใจหยุดเต้น คณะศิษย์ได้นำท่านส่งโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ แต่สุดความสามารถเยียวยาของคณะแพทย์ เนื่องจากเจ้าประคุณชราภาพมาก ยังความเศร้าสลดอาลัยเป็นอย่างยิ่ง

"สมเด็จพระญาณวโรดม" เป็นพระนักเผยแผ่ธรรม ที่ธำรงวัตรปฏิบัติตามแบบพระสงฆ์สายคณะธรรมยุตแท้ๆ อีกรูปหนึ่ง เป็นสมณะผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง มีวัตรปฏิบัติอันน่ายกย่องและศรัทธายิ่งของบรรดาศิษยานุศิษย์ ตลอดจนพุทธศาสนิกชนทั่วไป

สมเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร สันตังกุโร) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร, กรรมการมหาเถรสมาคม และอุปนายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

อัตโนประวัติสมเด็จพระญาณวโรดม มีนามเดิมว่า ประยูร พยุงธรรม เกิดเมื่อวันศุกร์ เดือน 4 แรม 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 9 มีนาคม 2459 ณ บ้านท่าเรือ ต.ประจันตคาม อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายธูป และนางทองหยิบ พยุงธรรม เป็นบุตรคนสุดท้อง

ช่วงวัยเยาว์เริ่มเรียนหนังสือเมื่ออายุราว 6 ขวบ โดยบิดาเป็นครูสอน ต่อมาได้เข้าเรียนที่โรงเรียนประชาบาลประจำอำเภอ จนจบชั้น ป.5 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุด จากนั้นได้มาพำนักที่วัดเทพศิรินทราวาส ตั้งแต่ พ.ศ.2474 และได้บรรพชาเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2476 มีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) เป็นพระอุปัชฌาย์

ต่อมาได้อุปสมบทเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2480 โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอุดมศีลคุณ (อินทร อัคคิทัตตเถร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูวินัยธรเพ็ชร ปภังกโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์

มีม.จ.หญิงกรณิกา จิตรพงศ์ พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา นริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเป็นอุปัฏฐากเจ้าภาพบวช ณ พัทธสีมา วัดเทพศิรินทราวาส ได้ฉายาว่า "สันตังกุโร" ซึ่งแปลว่า หน่อหรือเชื้อสายหรือทายาทของผู้สงบ และได้อยู่จำพรรษาที่วัดเทพศิรินทราวาสตลอดมา

ด้านพระปริยัติศึกษาท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลี สามารถสอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี-โท-เอก และสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค สำหรับภาษาสันสกฤตนั้นได้ศึกษากับตรี นาคะประทีบ ร่วมกับเพื่อนร่วมรุ่นกัน คือนาย สุชีพ ปุญญานุภาพ และสมเด็จพระวันรัต (นิรันดร์ นิรันตโร ป.ธ.9) จนแตกฉาน โดยเฉพาะวรรณ คดีสันสกฤต

สำหรับตำแหน่งหน้าที่การงานและผลงานมีมากมายเหลือคณานับ เป็นผู้ริเริ่มโครงการต่างๆ ในคณะสงฆ์กว่า 100 โครงการ อาทิ ด้านการศึกษา เป็นผู้ริเริ่มเปิดโรงเรียนพระสังฆาธิการและจัดหลักสูตรระดับต้นและระดับสูง เป็นผู้ริเริ่มโครงการและดำเนินงาน โดยเปิดอบรมวิชาการนวกรรมกับการพัฒนาชุมชน

เป็นผู้ริเริ่มโครงการอบรมภิกษุพัฒนาภูมิภาคและปฏิบัติ โดยการอบรมภิกษุพัฒนาภูมิภาค และดำเนินงานโครงการอบรมวิชาเคหพยาบาลแก่ภิกษุ-สามเณรและแม่ชีร่วมกับสภากาชาดไทย ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ท่านเป็นหัวหน้าพระธรรมทูต สายที่ 7

นอกจากนี้ ยังได้เรียบเรียงจัดแปลและจัดพิมพ์หลักสูตรนักธรรมธรรมศึกษาทุกชั้นเป็นภาษาอังกฤษ สวดมนต์แปลเป็นภาษาอังกฤษ การเรียนรู้พระพุทธศาสนาในเวลาจำกัดเป็นภาษาอังกฤษ และภาษาเยอรมัน เพื่อเผยแผ่แก่ชาวต่างประเทศ

รวมทั้งงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา การเดินทางไปต่างประเทศจนครบ 6 ทวีป 45 ประเทศ ไม่ว่าจะเป็นทวีปเอเชีย ยุโรป อเมริกา แอฟริกา ออสเตรเลีย เป็นต้น

ด้านสาธารณูปการ เป็นผู้ทำและเป็นผู้แนะนำชักจูงให้ทั้งฝ่ายบรรพชิต ทั้งฝ่ายคฤหัสถ์ให้ขุดบ่อ ทำแหล่งน้ำ สร้างถนน ให้แสงสว่าง ปลูกต้นไม้ สร้างศาลาพักร้อน สร้างวัดให้เป็นอารามให้เป็นศูนย์แห่งความฉลาด ให้เป็นแหล่งรวมประชาชน ให้เป็นที่พึ่งของประชาชน ให้ทำห้องสมุดประจำวัด ให้มีพิพิธภัณฑ์ประจำวัด

นอกจากนี้ ได้เปิดอบรมวิชาโบราณคดีและการนวกรรมแก่พระสังฆาธิการเพื่อให้รู้จักคุณค่าของโบราณวัตถุ โบราณสถาน วิธีการสร้าง วิธีการซ่อม เป็นต้น

ขณะเดียวกันได้เป็นประธานในการผูกพัทธสีมา 25 วัด ในประเทศไทยและต่างประเทศ ตลอดชีวิตของสมเด็จพระญาณวโรดมได้ทุ่มเทเวลาให้กับผลงานด้านวรรณกรรมมากมาย ได้เรียบเรียงและจัดพิมพ์หนังสือเรียน หนังสือธรรมะ หนังสือท่องเที่ยวอิงธรรมะแบบใหม่ อ่านเข้าใจ สนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ หนังสืออ่านสำหรับวัยรุ่นกว่า 30 เล่ม บางเล่มได้รับการแปลเป็นภาษาต่างประเทศ นับว่าเป็นผู้คงแก่เรียน และเป็นนักเขียนฝีมือดีท่านหนึ่งในคณะสงฆ์ไทย

ด้านการปกครองคณะสงฆ์ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม และอื่นๆ อีกมากมาย

ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2495 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่พระศรีวิสุทธิญาณ, พ.ศ.2500 เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่พระราชสุมนมุนี

พ.ศ.2505 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่พระเทพกวี พ.ศ.2515 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่พระธรรมธัชมุนี

พ.ศ.2528 เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองหิรัญบัฏ ที่พระญาณวโรดม

วันที่ 5 ธันวาคม 2546 ทรงพระกรุณาโปรดฯ สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะสุพรรณบัฏ ที่สมเด็จพระญาณวโรดม

สมเด็จพระญาณวโรดม เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลาจารวัตร มีความรอบรู้ทั้งในทางคดีโลกและคดีธรรม เป็นพระมหาเถระนักบริหารชั้นสูงรูปหนึ่งของเมืองไทย ทั้งในฐานะกรรมการมหาเถรสมาคม ขณะเดียวกันยังดำรงตำแหน่งอุปนายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นพระมหาเถระผู้มีความรู้ความสามารถในการบริหารระดับสูง

แต่ด้วยอายุขัยที่ล่วงเลยเข้าสู่วัยชราภาพ บ่อยครั้งทำให้ท่านอ่อนแรง สุขภาพไม่แข็งแรงดังเดิม กระทั่งเกิดล้มป่วยอาพาธเป็นประจำ ต้องเข้าออกโรงพยาบาลหลายครั้ง จนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต สมเด็จพระญาณวโรดมได้มรณภาพจากไปด้วยอาการอันสงบ

ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2552 เวลา 13.00 น. คณะสงฆ์วัดเทพศิรินทร์และคณะศิษย์ได้เคลื่อนศพท่านจากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ตั้งศพไว้และประกอบพิธีบรรจุศพลงในโกศพระ ราชทาน ณ ศาลากลางน้ำวัดเทพศิรินทร์

ทันทีที่คณะสงฆ์ คณะศิษยานุศิษย์ คณะครูอาจารย์และนักเรียนโรงเรียนวัดเทพศิรินทร์ ได้ทราบข่าว ต่างมารอกราบศพเจ้าประคุณสมเด็จ ณ ศาลากลางน้ำวัดเทพศิรินทร์ ทั้งนี้ บรรยากาศ เป็นไปด้วยความเศร้าสลด คณะศิษยานุศิษย์ บางคนถึงกับกลั้นน้ำตาไม่อยู่

ในการนี้พิธีดังกล่าวได้รับพระมหากรุณาธิ คุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รับไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ เป็นเวลา 7 วัน พร้อมด้วยเครื่องประดับสมณศักดิ์ และโกศไม้สิบสองพระราชทาน

วันเดียวกันนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราช ดำเนินไปพระราชทานน้ำหลวงสรงศพ ชีวิตและประสบการณ์ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมายาวนานของท่าน ควรค่าที่สาธุชนทั่วไปจะได้ยึดถือเป็นทิฏฐานุคติเป็นแบบอย่าง

แม้สังขารท่านจะดับสูญ แต่คุณงามความดีและบารมีธรรมของเจ้าประคุณสมเด็จ ยังคงปรากฏอยู่ไม่เสื่อมคลาย
ข้อมูลจาก..http://www.itti-patihan.com

2.11.52

นมัสการรอยพระพุทธบาท

เรื่องจริงผ่านจอ - ตามรอยพระพุทธบาท
เพลงลอยกระทง

15.10.52

พระราชภาวนาพินิจ ( สนธิ์ อนาลโย )



* เจ้าอาวาสวัดพุทธบูชา *
พระราชภาวนาพินิจ เป็นชาว จ.อุบลราชธานี มีนามเดิมว่า สนธิ์ นามสกุลคำมั่น เป็นบุตรชายของ นายเป นางกัน คำมั่น เกิดที่ บ้านโนนชาติ ต.สร้างมิ่ง อ.เลิงนกทา จ.อุบลราชธานี อุปสมบทที่ที่ วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร มี พระครูอุดมธรรมคุณ (ทองสุข
สุจิตฺโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สนธ์ (สนธ์ ขนฺตยาคโม) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์กวาด (กวาด สุมโน) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้มีโอกาสไปศึกษา และปฏิบัติธรรมกับ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี (วัดหินหมากเป้ง จ. หนองคาย) ประมาณ 1 ปี(2499-2500)ขณะนั้นเป็นช่วงที่ หลวงปูเทสก์ กำลังอยู่จำพรรษาเพื่อเผยแผ่พระศาสนาอยู่ที่ จ.ภูเก็ต จากนั้นจึงได้ย้ายมาอยู่จำพรรษาที่วัดพุทธบูชานี้ เมื่อ พ.ศ. 2500 ต่อมาใน พ.ศ. 2508 จึงได้ย้ายไปอยู่จำพรรษาที่วัดบรนิวาส ซึ่งท่านได้อยู่เป็นกำลังช่วยสอนพระปริยัติธรรม และเป็นกำลังช่วยบริหารวัดบรมนิวาสเรื่อยมา จนกระทั่งวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดพุทธบูชา ต่อมาวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2542 ท่านจึงได้รับแต่งตั้งจาก ท่านเจ้าคุณ พระธรรมกวี(จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต ป.ธ.9)ซึ่งดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดกรุงเทพมหานคร-สมุทรปราการ (ธ) ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสของวัดพุทธบูชา ซึ่งท่านได้ดำรงตำแหน่งนี้เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน

%%%%%%%%%%%%%%**************************%%%%%%%%%%%%%%

10.10.52

V-Refuge Sevenfold Offering Protection

V - BuddhismBuddhamSharanamGacchami

Buddham Saranam Gachcahmi Angulimal SOBE

Buddham Saranan Gachchhami

LORD BUDDHA VANDANA

Rajgir - Bodhigaya

The Four Greatest Places Of The Buddha, part 2

Bodh Gaya Pilgrimage & HH 17th Karmapa's Visit

BodhGaya: The World Heritage

Bodh Gaya

Chanting with Karmapa in Bodhgaya

Karmapa Pure

V-The Mahabodhi Temple Part II

V- Where Buddha Attained Enlightenment

7 Wonders of India: Mahabodhi Temple

7.10.52

5.10.52

พระพุทธเจ้าสอนอะไร ? ( โดย..สมเด็จพระสังฆราช ฯ )


มื่อก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี ได้มีมหาบุรุษท่านหนึ่ง เกิดขึ้นมาในโลก เป็นโอรสของ พระเจ้าสุทโธทนะ และ พระนางสิริมหามายา แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ สักกชนบท ซึ่งบัดนี้อยู่ใน เขตประเทศเนปาล มีพระนามว่า "สิทธัตถะ." ต่อมาอีก ๓๕ ปี พระสิทธัตถะได้ตรัสรู้ธรรม ได้พระนามตาม ความตรัสรู้ว่า "พุทธะ" ซึ่งไทยเราเรียกว่า "พระพุทธเจ้า." พระองค์ได้ ทรงประกาศพระธรรมที่ได้ตรัสรู้แก่ประชาชน จึงเกิดพระพุทธศาสนา (คำสั่งสอนของพระพุทธะ) และบริษัท ๔ คือ ภิกษุ (สามเณร) ภิกษุณี (สามเณรี) อุบาสก อุบาสิกา ขึ้นในโลก จำเดิมแต่นั้น. บัดนี้ ในเมืองไทยมีแต่ภิกษุ (สามเณร) อุบาสกและอุบาสิกา. ภิกษุนั้น คือ ชายผู้ถือบวช ปฏิบัติพระวินัย ของภิกษุ. สามเณรนั้น คือ ชายผู้มีอายุไม่ครบ ๒๐ ปี หรือแม้อายุเกิน ๒๐ ปีแล้วเข้ามาถือบวช ปฏิบัติสิกขาของสามเณร. อุบาสก อุบาสิกานั้น คือ คฤหัสถ์ชายหญิงผู้นับถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ (ที่พึ่ง) และปฏิบัติอยู่ในศีลสำหรับคฤหัสถ์. บัดนี้ มีคำเรียกชายหญิงทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ผู้ประกาศตนถึง พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะว่า "พุทธมามกะ" "พุทธมามิกะ" แปลว่า "ผู้นับถือพระพุทธเจ้า ว่าเป็นพระของตน." พระพุทธศาสนาได้แผ่ออกจากประเทศถิ่นที่เกิดในประเทศต่าง ๆ ในโลก.
หลักเคารพสูงสุดในพระพุทธศาสนา คือ พระรัตนตรัย (รัตนะ ๓) ได้แก่ พระพุทธเจ้า คือ พระผู้ตรัสรู้พระธรรม แล้ว ทรงประกาศสั่งสอนตั้งพระพุทธศาสนาขึ้น. พระธรรม คือ สัจจธรรม (ธรรม คือ ความจริง) ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ และได้ทรงประกาศสั่งสอนเป็นพระศาสดาขึ้น. พระสงฆ์ คือ หมู่ชนผู้ได้ฟังคำสั่งสอน ได้ปฏิบัติตน และได้รู้ตามพระพุทธเจ้า. บางพวกออกบวชตาม ได้ช่วยนำพระพุทธศาสนา และสืบต่อวงศ์การบวชมาจนถึงปัจจุบันนี้.
ทุกคนผู้เข้ามานับถือพระพุทธศาสนา จะเป็นคฤหัสถ์ ก็ตาม จะถือบวชก็ตาม ต้องทำกิจเบื้องต้น คือ ปฏิญาณตนถึงพระรัตนตรัยนี้เป็นสรณะ คือ ที่พึ่ง หรือดังที่เรียกว่า นับถือ เป็นพระของตน. เทียบกับทางสกุล คือ นับถือพระพุทธเจ้าเป็นพระบิดาผู้ให้กำเนิดชีวิต ในทางจิตของตน. พุทธศาสนิกชนย่อมสังคมกับผู้นับถือศาสนาอื่นได้ และย่อมแสดงความเคารพ สิ่งเคารพในศาสนาอื่นได้ ตามมรรยาทที่เหมาะสม เช่นเดียวกับแสดงความเคารพบิดาหรือมารดาหรือผู้ใหญ่ของคนอื่นได้ แต่ก็คงมีบิดาของตน. ฉะนั้น จึงไม่ขาดจากความเป็นพุทธศาสนิกชนตลอดเวลาที่ยังนับถือพระรัตนตรัยเป็นของตน เช่นเดียวกับเมื่อยังไม่ตัดบิดาของตน ไปรับบิดาของเขามาเป็นบิดา ก็คงเป็นบุตรธิดาของบิดาตนอยู่. หรือเมื่อยังไม่แปลงสัญชาติเป็นอื่น ก็คงเป็นไทยอยู่นั่นเอง. ฉะนั้น พระพุทธศาสนาจึงไม่คับแคบ. ผู้นับถือย่อมสังคมกับชาวโลกต่างชาติ ต่างศาสนาได้สะดวก. ทั้งไม่สอน ให้ลบหลู่ใคร. ตรงกันข้าม กลับให้เคารพต่อผู้ควรเคารพทั้งปวง และไม่ซ่อนเร้นหวงกันธรรมไว้โดยเฉพาะ. ใครจะมาศึกษาปฏิบัติก็ได้ทั้งนั้น โดยไม่ต้องมานับถือก่อน. ทั้งนี้ เพราะแสดงธรรมที่เปิดทางให้พิสูจน์ได้ว่าเป็นสัจจะ (ความจริง) ที่เป็นประโยชน์สุขแก่การดำรงชีวิตในปัจจุบัน. สัจธรรมที่เป็นหลักใหญ่ในพระพุทธศาสนา คือ อริยสัจ ๔
อริยสัจ แปลว่า "สัจจะของผู้ประเสริฐ (หรือผู้เจริญ)" "สัจจะที่ผู้ประเสริฐพึงรู้" "สัจจะที่ทำให้เป็นผู้ประเสริฐ" หรือแปลรวบรัดว่า "สัจจะอย่างประเสริฐ." พึงทำความเข้าใจไว้ก่อนว่า มิใช่สัจจะตามชอบใจของโลกหรือของตนเอง แต่เป็นสัจจะทางปัญญาโดยตรง.
อริยสัจ ๔
๑) ทุกข์ ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ซึ่งมีเป็นธรรมดาของชีวิต และความโศก ความระทม ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ซึ่งมีแก่จิตใจและร่างกายเป็นครั้งคราว ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รักไม่ชอบ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบ ความปรารถนาไม่สมหวัง. กล่าวโดย ย่อก็คือ กายและใจนี้เองที่เป็นทุกข์ต่าง ๆ จะพูดว่า ชีวิตนี้เป็นทุกข์ต่าง ๆ ดังกล่าวก็ได้.
๒) สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากของจิตใจ คือ ดิ้นรน ทะยานอยาก เพื่อที่จะได้สิ่งปรารถนาอยากได้ ดิ้นรนทะยานอยากเพื่อจะเป็นอะไรต่าง ๆ ดิ้นรนทะยานอยากที่จะไม่เป็นในภาวะที่ไม่ชอบต่าง ๆ .
๓) นิโรธ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับตัณหา ความดิ้นรน ทะยานอยากดังกล่าว
๔) มรรค ทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ ทางมีองค์ ๘ คือ ความเห็นชอบ ความ ดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ เพียรพยายามชอบ สติชอบ ตั้งใจชอบ.
ได้มีบางคนเข้าใจว่า พระพุทธศาสนามองในแง่ร้าย เพราะแสดงให้เห็นแต่ทุกข์ และสอนสูงเกินกว่าที่คนทั่วไปจะรับได้ เพราะสอนให้ดับความดิ้นรนทะยานอยากเสียหมด ซึ่งจะเป็นไปยาก. เห็นว่าจะต้องมีผู้เข้าใจดังนี้ จึงต้องซ้อมความเข้าใจไว้ ก่อนที่จะแจกอริยสัจออกไป. พระพุทธศาสนามิได้มองในแง่ร้ายหรือแง่ดีทั้งสองอย่างเดียว แต่มองในแง่ของสัจจะ คือ ความจริง ซึ่งต้องใช้ปัญญาและจิตใจที่บริสุทธิ์ประกอบกันพิจารณา.
ตามประวัติพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้ามิได้ทรงแสดงอริยสัจแก่ใครง่าย ๆ แต่ได้ทรงอบรมด้วยธรรมข้ออื่น จนผู้นั้นมีจิตใจบริสุทธิ์พอที่จะรับเข้าใจได้แล้ว จึงทรงแสดงอริยสัจ. ธรรมข้ออื่นที่ทรงอบรมก่อนอยู่เสมอสำหรับคฤหัสถ์นั้น คือ ทรงพรรณนาทาน พรรณนาศีล พรรณนาผลของทาน-ศีล ที่เรียกว่า "สวรรค์" (หมายถึง ความสุขสมบูรณ์ต่าง ๆ ที่เกิด จากทาน-ศีล แม้ในชีวิตนี้) พรรณนาโทษของกาม (สิ่งที่ผูกใจ ให้รักใคร่ปรารถนา) และอานิสงส์ คือ ผลดีของการที่พรากใจออกจากกามได้. เทียบด้วยระดับการศึกษาปัจจุบัน ก็เหมือนอย่างทรงแสดงอริยสัจแก่นักศึกษาชั้นมหาวิทยาลัย. ส่วนนักเรียนที่ต่ำลงมา ก็ทรงแสดงธรรมข้ออื่นตามสมควรแก่ระดับ. พระพุทธเจ้าจะไม่ทรงแสดงธรรมที่สูงกว่าระดับของผู้ฟัง ซึ่งจะไม่เกิดประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย. แต่ผู้ที่มุ่งศึกษาแสวงหาความรู้ แม้จะยังปฏิบัติไม่ได้ ก็ยังเป็นทางเจริญความรู้ในสัจจะ ที่ตอบได้ตามเหตุผล และอาจพิจารณาผ่อนลงมาปฏิบัติ ทั้งที่ยังมีตัณหาคือความอยากดังกล่าวอยู่นั่นแหละ. ทางพิจารณานั้นพึงมีได้เช่นที่จะกล่าวเป็นแนวคิดดังนี้:
๑) ทุก ๆ คนปรารถนาสุข ไม่ต้องการทุกข์ แต่ทำไมคนเราจึงยังต้องเป็นทุกข์ และไม่สามารถจะแก้ทุกข์ของตนเองได้ บางทียิ่งแก้ก็ยิ่งเป็นทุกข์มาก. ทั้งนี้ก็เพราะ ไม่รู้เหตุผลตามเป็นจริงว่า อะไรเป็นเหตุของทุกข์ อะไรเป็นเหตุของสุข. ถ้าได้รู้แล้ว ก็จะแก้ได้ คือ ละเหตุที่ให้เกิดทุกข์ ทำเหตุที่ให้เกิดสุข. อุปสรรคที่สำคัญอันหนึ่งก็คือใจของตนเอง เพราะคนเราตามใจตนเองมากไป จึงต้องเกิดเดือดร้อน.
๒) ที่พูดกันว่า ตามใจตนเองนั้น โดยที่แท้ก็คือตามใจตัณหา คือความอยากของใจ. ในขั้นโลก ๆ นี้ ยังไม่ต้องดับความอยากให้หมด เพราะยังต้องอาศัยความอยากเพื่อสร้างโลกหรือสร้างตนเองให้เจริญต่อไป. แต่ก็ต้องมีการควบคุมความอยากให้อยู่ในขอบเขตที่สมควร และจะต้องรู้จักอิ่ม รู้จักพอใจในสิ่งที่ควรอิ่มควรพอ. ดับตัณหาได้เพียงเท่านี้ก็พอครองชีวิตอยู่เป็นสุขในโลก. ผู้ก่อไฟเผาตนเองและเผาโลกอยู่ทุกกาลสมัยก็คือ ผู้ที่ไม่ควบคุมตัณหาของใจให้อยู่ในขอบเขต. ถ้าคนเรามีความอยากจะได้วิชา ก็ตั้งใจพากเพียรเรียน. มีความอยากได้ทรัพย์ ยศ ก็ตั้งใจเพียรทำงานให้ดีตามกำลังตามทางที่สมควร. ดังนี้แล้วก็ใช้ได้ แปลว่า ปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ในทางโลกและก็อยู่ในทางธรรมด้วย.
๓) แต่คนเราต้องการมีการพักผ่อน. ร่างกายก็ต้องมีการพัก ต้องให้หลับ ซึ่งเป็นการพักทางร่างกาย. จิตใจก็ต้องมีเวลาที่ปล่อยให้ว่าง. ถ้าจิตใจยังมุ่งคิดอะไรอยู่ ไม่ปล่อยความคิดนั้นก็หลับไม่ลง. ผู้ที่ต้องการมีความสุขสนุกสนานจากรูป-เสียงทั้งหลาย เช่น ชอบฟังดนตรีที่ไพเราะ หากจะถูกเกณฑ์ ให้ต้องฟังอยู่นานเกินไป. เสียงดนตรีที่ไพเราะที่ดังจ่อหูอยู่นานเกินไปนั้น จะก่อให้เกิดความทุกข์อย่างยิ่ง. จะต้องการหนีไปให้พ้น ต้องการกลับไปอยู่กับสภาวะที่ปราศจากเสียง คือ ความสงบ. จิตใจของคนเราต้องการความสงบดังนี้อยู่ทุกวัน วันหนึ่งเป็นเวลาไม่น้อย. นี้คือความสงบใจ. กล่าวอีกอย่างหนึ่ง ก็คือความสงบความดิ้นรนทะยานอยากของใจ ซึ่งเป็นความดับทุกข์นั่นเอง. ฉะนั้น ถ้าทำความเข้าใจให้ดีว่า ความดับทุกข์ก็คือ ความสงบใจ ซึ่งเป็นอาหารใจ ที่ทุก ๆ คนต้องการอยู่ทุกวัน ก็จะค่อยเข้าใจใน นิโรธ นี้ขึ้น.
๔) ควรคิดต่อไปว่า ใจที่ไม่สงบนั้นก็เพราะเกิดความดิ้นรนขึ้น และก็บัญชาให้ทำ พูด คิด ไปตามใจที่ดิ้นรนนั้น. เมื่อปฏิบัติตามใจไปแล้ว ก็อาจสงบลงได้. แต่การที่ปฏิบัติไปแล้วนั้น บางที ชั่วเวลาประเดี๋ยวเดียวก็ให้เกิดทุกข์โทษอย่างมหันต์. บางทีเป็นมลทินโทษ ที่ทำให้เสียใจไปช้านาน. คนเช่นนี้ควรทราบว่า ท่านเรียกว่า "ทาสของตัณหา." ฉะนั้น จะมีวิธีทำอย่างไร ที่จะไม่แพ้ตัณหา หรือจะเป็นนายของตัณหาในใจของตนเองได้? วิธีดังกล่าวนี้ก็คือ มรรคมีองค์ ๘ ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่
มรรคมีองค์ ๘
๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ คือ อริยสัจ ๔ หรือเห็นเหตุผลตามเป็นจริง แม้โดยประการที่ผ่อนพิจารณาลงดังกล่าวมาโดยลำดับ.
๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ คือ ดำริ หรือคิดออกจากสิ่งที่ผูกพันให้เป็นทุกข์. ดำริในทางไม่พยาบาทมุ่งร้าย. ดำริในทางไม่เบียดเบียน.
๓. สัมมาวาจา วาจาชอบ แสดงในทางเว้น คือ เว้นจากพูดเท็จ. เว้นจากพูดส่อเสียดให้แตกร้าวกัน. เว้นจากพูดคำหยาบร้าย. เว้นจากพูดเพ้อเจ้อไม่เป็นประโยชน์.
๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ แสดงในทางเว้น คือ เว้นจากการฆ่า การทรมาน เว้นจากการลัก เว้นจากการประพฤติผิดในทางกาม.
๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ คือ เว้นจากมิจฉาอาชีวะ (อาชีพผิด) สำเร็จชีวิตด้วยอาชีพที่ชอบ.
๖. สัมมาวายามะ เพียรพยายามชอบ คือ เพียรระวังบาปที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น. เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว. เพียรทำกุศลที่ยังไม่เกิดขึ้น. เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วมิให้เสื่อม แต่ให้เจริญยิ่งขึ้น.
๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ระลึกไปในทางที่ตั้งของสติที่ดีทั้งหลาย เช่น ในสติปัฏฐาน ๔ คือ กาย เวทนา จิต ธรรม.
๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจชอบ คือ ทำใจให้เป็นสมาธิ (ตั้งมั่นแน่วแน่) ในเรื่องที่ตั้งใจจะทำในทางที่ชอบ.
มรรคมีองค์ ๘ นี้ เป็นทางเดียว แต่มีองค์ประกอบเป็น ๘ และย่อลงได้ ในสิกขา (ข้อที่พึงศึกษาปฏิบัติ) คือ
ศีลสิกขา สิกขาคือศีล ได้แก่ วาจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ. พูดโดยทั่วไป จะพูดจะทำอะไรก็ให้ถูกชอบ อย่าให้ผิด. ประกอบอาชีพอะไรก็เช่นเดียวกัน. ถ้ายังไม่มีอาชีพ เช่น เป็นนักเรียน ต้องอาศัยท่านผู้ใหญ่อุปการะ ก็ให้ใช้ทรัพย์ที่ท่านให้มาตามส่วนที่ควรใช้. ไม่ใช้อย่างสุรุ่ยสุร่ายเหลวแหลก. ศึกษาควบคุมตนเอง ให้งดเว้นจากความคิดที่จะประพฤติตน ที่จะเลี้ยงตนเลี้ยงเพื่อนไปในทางที่ผิดที่ไม่สมควร.
จิตตสิกขา สิกขาคือจิต ได้แก่ เพียรพยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ. พูดโดยทั่วไป เรื่องจิตของตนเป็นเรื่องสำคัญ ต้องพยายามศึกษาฝึกฝน เพราะอาจฝึกได้โดยไม่ยากด้วย แต่ขอให้เริ่ม เช่น เริ่มฝึกตั้งความเพียร ฝึกให้ระลึกจดจำ และระลึกถึงเรื่องที่เป็นประโยชน์ และให้ตั้งใจแน่วแน่. สิกขาข้อนี้ใช้ในการเรียนได้เป็นอย่างดี เพราะการเรียนจะต้องมีความเพียร ความระลึกความตั้งใจ.
ปัญญาสิกขา สิกขาคือปัญญา ได้แก่ เห็นชอบ ดำริชอบ. พูดโดยทั่วไป มนุษย์เจริญขึ้นก็ด้วยปัญญาที่พิจารณา และลงความเห็นในทางที่ถูกที่ชอบ. ดำริชอบก็คือ พิจารณาโดยชอบ เห็นชอบ. ก็คือลงความเห็นที่ถูกต้อง. นักเรียนผู้ศึกษาวิชาการต่าง ๆ ก็มุ่งให้ได้ปัญญาสำหรับที่จะพินิจพิจารณาและลงความเห็นโดยความถูกชอบ ตามหลักแห่งเหตุผล ตามเป็นจริง. และโดยเฉพาะควรอบรมปัญญาในไตรลักษณ์ และ ปฏิบัติพรหมวิหาร ๔.
ไตรลักษณ์
หมายถึง ลักษณะที่ทั่วไปแก่สังขารทั้งปวง คือ อนิจจะ ทุกขะ อนัตตา
อนิจจะ ไม่เที่ยง คือไม่ดำรงอยู่เป็นนิตย์นิรันดร์ เพราะเมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องดับในที่สุด. ทุก ๆ สิ่งจึงมีหรือเป็นอะไรขึ้นมาแล้ว ก็กลับไม่มี. เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ชั่วคราวเท่านั้น.
ทุกขะ ทนอยู่คงที่ไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ เหมือนอย่างถูกบีบคั้นให้ทรุดโทรมเก่าแก่ไปอยู่เรื่อย ๆ . ทุก ๆ คนผู้เป็นเจ้าของสิ่งเช่นนี้ ก็ต้องทนทุกข์เดือดร้อนไม่สบายไปด้วย เช่น ไม่สบายเพราะร่างกายป่วยเจ็บ.
อนัตตา ไม่ใช่ "อัตตา" คือ ไม่ใช่ตัวตน. อนัตตานี้ ขออธิบายเป็นลำดับชั้นสามชั้น ดังต่อไปนี้
๑) ไม่ยึดมั่นกับตนเกินไป เพราะถ้ายึดมั่นกับตนเกินไป ก็ทำให้เป็นคนเห็นแก่ตัวถ่ายเดียว หรือทำให้หลงตน ลืมตน มีอคติ คือลำเอียงเข้ากับตน ทำให้ไม่รู้จักตนตามเป็นจริง เช่นคิดว่า ตนเป็นฝ่ายถูก ตนต้องได้สิ่งนั้น สิ่งนี้ ด้วยความยึดมั่นตนเองเกินไป. แต่ตามที่เป็นจริง หาได้เป็นเช่นนั้นไม่.
๒) บังคับให้สิ่งต่าง ๆ รวมทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่ให้เปลี่ยนแปลงตามความต้องการไม่ได้ เช่น บังคับให้เป็นหนุ่มสาวสวยงามอยู่เสมอไม่ได้ บังคับให้ภาวะของจิตใจชุ่มชื่นว่องไวอยู่เสมอไม่ได้.
๓) สำหรับผู้ที่ได้ปฏิบัติไปได้จนถึงขั้นสูงสุด เห็นสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งร่างกายและจิตใจเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตนทั้งสิ้นแล้ว ตัวตนจะไม่มี. ตามพระพุทธภาษิตที่แปลว่า "ตนย่อมไม่มีแก่ตน" แต่ก็ยังมีผู้รู้ซึ่งไม่ยึดมั่นอะไรในโลก. ผู้รู้นี้ เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ก็สามารถปฏิบัติสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นไปตามสมควรแก่สถานที่และสิ่งแวดล้อมโดยเที่ยงธรรมล้วน ๆ (ไม่มีกิเลสเจือปน).
พรหมวิหาร ๔
คือ ธรรมสำหรับเป็นที่อาศัยอยู่ของจิตใจที่ดี. มี ๔ ข้อ ดังต่อไปนี้
๑) เมตตา ความรักที่จะให้เป็นสุข. ตรงกันข้ามกับความเกลียดที่จะให้เป็นทุกข์. เมตตาเป็นเครื่องปลูกอัธยาศัย เอื้ออารี. ทำให้มีความหนักแน่นในอารมณ์ ไม่ร้อนวู่วาม. เป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกเป็นมิตร. ไม่เป็นศัตรู ไม่เบียดเบียนใคร แม้สัตว์เล็กเพียงไหน ให้เดือดร้อนทรมานด้วยความเกลียด โกรธ หรือสนุกก็ตาม.
๒). กรุณา ความสงสารจะช่วยให้พ้นทุกข์. ตรงกันข้ามกับความเบียดเบียน. เป็นเครื่องปลูกอัธยาศัยเผื่อแผ่เจือจาน ช่วยผู้ที่ประสบทุกข์ยากต่าง ๆ . กรุณานี้เป็นพระคุณสำคัญข้อหนึ่งของพระพุทธเจ้า. เป็นพระคุณสำคัญข้อหนึ่งของพระมหากษัตริย์ และเป็นคุณข้อสำคัญของท่านผู้มีคุณทั้งหลาย มีมารดาบิดา เป็นต้น.
๓) มุทิตา ความพลอยยินดีในความได้ดีของผู้อื่น. ตรงกันข้ามกับความริษยาในความดีของเขา. เป็นเครื่องปลูกอัธยาศัย ส่งเสริมความดี ความสุข ความเจริญของกันและกัน.
๔) อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง ในเวลาที่ควรวางใจดังนั้น เช่น ในเวลาที่ผู้อื่นถึงความวิบัติ ก็วางใจเป็นกลาง. ไม่ดีใจว่า ศัตรูถึงความวิบัติ. ไม่เสียใจว่า คนที่รักถึงความวิบัติ. ด้วยพิจารณาในทางกรรมว่า ทุก ๆ คนมีกรรมเป็นของตน. ต้องเป็นทายาทรับผลของกรรมที่ตนได้ทำไว้เอง. ความเพ่งเล็งถึงกรรมเป็นสำคัญดังนี้ จนวางใจลงในกรรมได้ ย่อมเป็นเหตุถอนความเพ่งเล็งบุคคลเป็นสำคัญ. นี้แหละเรียกว่า อุเบกขา. เป็นเหตุปลูกอัธยาศัยให้เพ่งเล็งถึงความผิดถูกชั่วดีเป็นข้อสำคัญ ทำให้เป็นคนมีใจ ยุติธรรมในเรื่องทั่ว ๆ ไปด้วย.
ธรรม ๔ ข้อนี้ควรอบรมให้มีในจิตใจ ด้วยวิธีคิดแผ่ใจ ประกอบด้วยเมตตา เป็นต้น ออกไปในบุคคลและสัตว์ทั้งหลายโดยเจาะจงและโดยไม่เจาะจงคือทั่วไป. เมื่อหัดคิดอยู่บ่อย ๆ จิตใจก็จะอยู่กับธรรมเหล่านี้บ่อยเข้าแทนความเกลียด โกรธ เป็นต้น ที่ตรงกันข้าม จนถึงเป็นอัธยาศัยขึ้น ก็จะมีความสุขมาก.
นิพพาน
ได้มีภาษิตกล่าวไว้ แปลว่า "นิพพานเป็นบรมสุข คือ สุขอย่างยิ่ง" นิพพาน คือความละตัณหาในทางโลกและทางธรรมทั้งหมด. ปฏิบัติโดยไม่มีตัณหาทั้งหมด คือ การปฏิบัติถึงนิพพาน.
ได้มีผู้กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า "ธรรม" (ตลอดถึง) "นิพพาน" ที่ว่า "เป็นสันทิฏฐิโก อันบุคคลเห็นเอง" นั้นอย่างไร? ได้มีพระพุทธดำรัสตอบโดยความว่าอย่างนี้ คือ ผู้ที่มีจิตถูกราคะ โทสะ โมหะ ครอบงำเสียแล้ว ย่อมเกิดเจตนา ความคิดเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ผู้อื่นบ้าง ทั้งสองฝ่ายบ้าง ต้องได้รับความทุกข์โทมนัสแม้ทางใจ. เมื่อเกิดเจตนาขึ้นดังนั้น ก็ทำให้ประพฤติทุจริตทางไตรทวาร คือ กาย วาจา ใจ และคนเช่นนั่น ย่อมไม่รู้ประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองตามเป็นจริง. แต่ว่า เมื่อละความชอบ ความชัง ความหลงเสียได้ ไม่มีเจตนาความคิดที่จะเบียดเบียนตน และผู้อื่นทั้งสองฝ่าย ไม่ประพฤติทุจริตทางไตรทวาร รู้ประโยชน์ตนรู้ ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองตามเป็นจริง ไม่ต้องเป็นทุกข์โทมนัสแม้ด้วยใจ. "ธรรม" (ตลอดถึง) "นิพพาน" ที่ว่า "เห็นเอง" คือเห็นอย่างนี้. ตามที่ตรัสอธิบายนี้ เห็นธรรมก็คือ เห็นภาวะหรือสภาพแห่งจิตใจของตนเอง ทั้งในทางไม่ดี ทั้งในทางดี. จิตใจเป็นอย่างไร ก็ให้รู้อย่างนั้นตามเป็นจริง. ดังนี้ เรียกว่า เห็นธรรม. ถ้ามีคำถามว่า จะได้ประโยชน์อย่างไร? ก็ตอบได้ว่า ได้ความดับทางใจ คือ จิตใจที่ร้อนรุ่มด้วย ความโลภ โกรธ หลงนั้น เพราะมุ่งออกไปข้างนอก หากได้นำใจกลับเข้ามาดูใจเองแล้ว สิ่งที่ร้อนจะสงบเอง. และให้สังเกตจับตัวความสงบนั้นให้ได้ จับไว้ให้อยู่. เห็นความสงบดังนี้ คือ เห็นนิพพาน. วิธีเห็นธรรม เห็นนิพพานตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสอธิบายไว้ จึงเป็นวิธีธรรมดาที่คนธรรมดาทั่ว ๆ ไปปฏิบัติได้ ตั้งแต่ขั้นธรรมดาต่ำ ๆ ตลอดถึง ขั้นสูงสุด.
อริยสัจ ไตรลักษณ์ และนิพพาน "เป็นสัจธรรม" ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ และได้ทรงแสดงสั่งสอน (ดังแสดงในปฐมเทศนาและในธรรมนิยาม) เรียกได้ว่าเป็น "ธรรมสัจจะ" สัจจะทางธรรม เป็นวิสัยที่พึงรู้ได้ด้วยปัญญา อันเป็นทางพ้นทุกข์ในพระพุทธศาสนา. แต่ทางพระพุทธศาสนาก็ได้แสดงธรรมในอีกหลักหนึ่งคู่กันไป คือ ตาม "โลกสัจจะ" สัจจะทางโลก คือ แสดงในทางมีตน มีของตน เพราะโดยสัจจะ ทางธรรมที่เด็ดขาดย่อมเป็นอนัตตา. แต่โดยสัจจะทางโลกย่อมมีอัตตา. ดังที่ตรัสว่า "ตนแลเป็นที่พึ่งของตน." ในเรื่องนี้ ได้ตรัสได้ว่า "เพราะประกอบเครื่องรถเข้า เสียงว่ารถย่อมมีฉันใด เพราะขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ สัตว์ก็ย่อมมีฉันนั้น" ธรรมในส่วนโลกสัจจะ เช่น ธรรมที่เกี่ยวแก่การปฏิบัติในสังคมมนุษย์ เช่น ทิศหก. แม้ศีลกับวินัยบัญญัติทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน. ฉะนั้น แม้จะปฏิบัติอยู่เพื่อความพ้นทุกข์ทางจิตใจตามหลักธรรมสัจจะ ส่วนทางกายและทางสังคมก็ต้องปฏิบัติอยู่ในธรรมตามโลกสัจจะ. ยกตัวอย่างเช่น บัดนี้ ตนอยู่ในภาวะอันใด เช่น เป็นบุตรธิดา เป็นนักเรียน เป็นต้น ก็พึงปฏิบัติธรรมตาม ควรแก่ภาวะของตน และควรพยายามศึกษา นำธรรมมาใช้ ปฏิบัติแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นประจำวัน. พยายามให้มีธรรมในภาคปฏิบัติขึ้นทุก ๆ วันในการเรียน ในการทำงาน และในการอื่นๆ . เห็นว่า ผู้ปฏิบัติดังนี้ จะเห็นเองว่า ธรรมมีประโยชน์อย่างยิ่งแก่ชีวิตอย่างแท้จริง.

fm10025.blogspot.com